วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ (อังกฤษmotor oil, engine oil) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า น้ำมันหล่อลื่น หรือ น้ำมันเครื่อง เปรียบเสมือนหัวใจของรถยนต์ คือ เป็นเสมือนผู้ทำนุบำรุงรักษาเครื่องยนต์ทั้งระบบ น้ำมันเครื่องประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ น้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ  มีหน้าที่หล่อลื่นลดแรงเสียดทาน ระบายความร้อน ชะล้างสิ่งสกปรกและช่วยในการป้องกันการสึกหรอให้กับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ในขณะที่เผาไหม้เสียดสีกัน  อีกทั้งยังทำหน้าที่ไม่ให้แรงดันในกระบอกสูบเล็ดลอดออกมาอีกด้วย
 หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง
 หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง

หน้าที่โดยทั่วไปของน้ำมันเครื่องที่ดีมีดังนี้
1.  ให้การหล่อลื่นและผนึกแหวนสูบเพื่อป้องกันกำลังอัดรั่ว
โดนน้ำมันหล่อลื่นจะเคลือบชิ้นส่วนโลหะในเครื่องยนต์ในลักษณะเป็นฟิล์มเคลือบอยู่ที่ผิวโลหะเพื่อช่วยลดการสัมผัสกันโดยตรงของชิ้นส่วนโลหะ โดยความหนาของฟิล์มนั้นขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง คุณสมบัตินี้ได้จาก การเลือกใช้ความหนืดที่เหมาะสมและดัชนีความหนืดสูงที่มีอยู่ในน้ำมัน หล่อลื่นพื้นฐานอยู่แล้ว ถ้าต้องการให้มีดัชนีความหนืดสูงขึ้นไปอีกในการทำเป็นน้ำมัน เครื่อง เกรดรวม ก็ต้องผสมด้วยสารเพิ่มดัชนีความหนืด (VI Improver)
2.  การระบายความร้อน
ในช่วงที่เครื่องยนต์กำลังทำงานนั้นจะเกิดความร้อนขึ้นบริเวณ รอบๆฝาสูบ รอบๆกระบอกสูบ ลูกสูบ ข้อเหวี่ยงและ ชิ้นส่วนภายในต่างๆ ปั๊มน้ำมันเครื่องจะส่งน้ำมันเครื่องไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ เมื่อน้ำมันเครื่องไหลกลับก็จะพาเอาความร้อนกลับลงไปสู่อ่างน้ำมันเครื่องด้วย จึงเป็นการระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์อีกทางหนึ่ง เนื่องจากความต้องการน้ำมันที่ทนความร้อนได้สูงโดยไม่เสื่อมสลายเร็ว แม้ว่าน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานมีคุณสมบัติต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนสูงอยู่แล้ว แต่เพื่อให้น้ำมันมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นไปอีก จึงผสมด้วยสารเพิ่มคุณภาพต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน (Oxidation Inhibitor) เพิ่มเข้าไปอีก
3.  ลดการสึกหรอ
คุณสมบัตินี้มีอยู่ในตัวน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ในสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีอุณหภูมิสูงและรับภาระการใช้งานที่รุนแรง (Extreme Load) ฟิล์มบางๆ ของน้ำมันหล่อ ลื่นอาจไม่พอ เป็นผลให้เกิดการสึกหรอขึ้น สารเพิ่มคุณภาพประเภท ต้านทานการสึกหรอ (Antiwear Agent) จะช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ในสภาพการใช้งานที่รุนแรงได้
4.  รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์
น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จึงต้องผสมด้วยสารชะล้างทำความสะอาด (Detergent) และสารช่วยกระจายเขม่าตะกอน (Dispersant) เพื่อขจัดคราบเขม่าคาร์บอนออกจากผิวโลหะและกระจายเขม่าตะกอนให้แขวนลอยอยู่ในน้ำมัน โดยไม่ตกตะกอนและจับตัวเป็นก้อน เป็นการชะล้างสิ่งสกปรกมากระจายตัวอยู่ในเนื้อน้ำมัน และจะถูกถ่ายออกเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องที่มีมาตรฐานสูง ปริมาณสารชะล้างทำความสะอาดและกระจายเขม่าตะกอนก็ยิ่งมีมากขึ้น
5.  ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน
สารเพิ่มคุณภาพประเภทป้องกันสนิม (Rust Inhibitor) ให้คุณสมบัติในการยึดเกาะติดผิวโลหะทำให้น้ำหรือความชื้นไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปถึงพื้นผิวได้ สารเพิ่มคุณภาพประเภทต้านทานการกัดกร่อน (Corrosion Inhibitor) ทำให้น้ำมันเครื่องมีความเป็นด่าง เพื่อสะเทินกรดที่เกิดขึ้นจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์ให้กลายเป็นกลาง เพื่อป้องกันการกัดกร่อนผิวโลหะ

เครื่องยนต์ต้องพึ่งพาน้ำมันเครื่องในการหล่อลื่นหากไม่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องยนต์ได้  เครื่องก็คงจะต้องพังในไม่ช้า  ดังนั้นผู้ใช้รถจึงควรพิจารณาถึงเกรดและมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง  รวมทั้งหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอตามระยะทางหรือระยะเวลาที่กำหนดด้วย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

เมื่อไรจึงควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    ร่วมเล่นคาสิโนออนไลน์และไลฟ์คาสิโนจากสมาร์ทโฟนของท่าน!
    ผู้เล่นที่สนุกสนานการเดิมพันกีฬาย่อมยินดีที่จะกระโจนเข้าร่วมโอกาสในการ เดิมพันผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
    ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.999player.com

    ตอบลบ