วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ขับรถใหม่ป้ายแดงใครว่าไม่ผิดกฏหมาย

บางคนชอบขับรถป้ายแดงออกไปโชว์เพื่อให้รู้ว่า "ฉันพึ่งถอยรถใหม่มานะ รถฉันสวยมั้ย เท่มั้ย ไม่รวยซื้อไม่ได้นะเนี้ย" แต่ว่าซื้อรถคันใหม่มาจะไม่ให้ใช้เลยก็ไม่ได้ หรือจะรอป้ายขาวออกก่อนก็ไม่ไหวเหมือนกัน ซึ่งที่แท้จริงแล้วการขับรถด้วยทะเบียนสีแดงก็ไม่ต่างอะไรกับการขับรถทะเบียนเถื่อน หรือผิดกฏหมาย นำซ้ำยังอาจสร้างปัญหาแก่ผู้ขับขี่แบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย ให้ทราบไว้นะสำหรับคนที่อยากจะโชว์รถป้ายแดงของตัวเอง 


รถป้ายแดง
รถป้ายแดง

ป้ายทะเบียนสีแดงที่ติดมากับรถคันใหม่ แท้จริงเป็นเครื่องหมายของทะเบียนรถชั่วคราว หรือทะเบียนพิเศษที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่บริษัทจำหน่ายรถ เพื่อใช้ในการจำหน่ายหรืออยู่ในระหว่างส่งรถไปซ่อม และขับได้ในช่วงเวลากลางวัน ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงตกดิน นอกจากนี้ การนำรถป้ายแดงไปใช้งานต่างจังหวัด หรือนอกพื้นที่ และการบรรทุกสัมภาระสิ่งของยังถือเป็นความผิดตามกฏหมาย เว้นแต่มีความจำเป็น และไดรับอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ ลงเครื่องหมายพิเศษบนสมุดคุ่มือประจำรถ ไว้ชี้แจงแก่เจ้าพนักงานตามความเหมาะสม

ถ้าจะขับตอนมืดต้องขออนุญาต กฎพื้นฐานเดิมของการใช้รถป้ายแดง ปัจจุบันยังมีการบังคับใช้ครบถ้วน โดยมีสาระสำคัญคือ
1. ทุกครั้งที่ใช้รถเดินทาง ต้องกรอกรายละเอียดในรายการใช้รถในสมุดคู่มือฯ ให้ครบถ้วน
2. ถ้าทำตามข้อ 1 แล้วจะสามารถใช้รถได้เฉพาะช่วงพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก (เวลากลางวัน) เท่านั้น (ไม่ใช่ 6.00-18.00น.)
3. หากจะใช้รถตอนมืด เวลาพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น (เวลากลางคืน) ไม่ว่าจะค่ำ ดึก หรือเช้ามืด นอกจากต้องทำตามข้อ 1 แล้วจะต้องขอรับอนุญาตจากนายทะเบียน (จะต้องมีลายมือชื่อนายทะเบียนของทางราชการในรายการใช้รถ) หากมีการฝ่าฝืนในข้อใด มีโทษปรับ


โดยเฉพาะประเด็นของการใช้รถป้ายแดงตอนมืด หลายคนคิดไปเองว่า กฎเลิกบังคับใช้แล้ว นึกว่าสามารถใช้งานได้ทั้งวันทั้งคืน เพราะเห็นรถป้ายแดงบ่อยๆ ตอนมืด แล้วก็ไม่เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้มงวดจับกุมเลย ในความเป็นจริง กฎยังบังคับใช้ครบถ้วน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่อนุโลมให้ เพราะเห็นความจำเป็นในการใช้รถ เช่น คาบลู่คาบดอกในการเดินทาง ต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด หรือออกจากที่ทำงานตอนเย็นยังไม่มืด แต่การจราจรติดขัดมาก มืดขณะที่รถคาอยู่บนถนนยังไม่ถึงบ้าน
นอก จากนั้นการอนุโลม ยังเกี่ยวข้องไปถึง การกรอกรายการใช้รถในเล่มทุกครั้งที่เดินทาง พบว่าน้อยครั้งมากที่ใครจะทำเช่นนั้น เพราะขี้เกียจ และเจ้าของป้ายแดงต้องขอเปลี่ยนสมุดคู่มือบ่อยมาก ถ้าใช้รถทุกวันและกรอกตามจริง ไม่กี่วันก็หมดเล่ม ต้องเสียค่าธรรมเนียมทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนใหม่ การอนุโลมในวงกว้าง ทำให้หลายคนคิดว่า ป้ายแดงใช้ได้ทั้งวันทั้งคืน และใช้ได้โดยไม่ต้องกรอกรายการใช้รถ การอนุโลมก็คือ อนุโลมจากผู้ถือกฎหมาย ไม่ใช่เป็นตัวบทกฎหมายเฉพาะกาลออกมาดังนั้นถ้าใครไม่ทำตามแล้วถูกจับกุม ก็ไม่สามารถร้องเรียนหรือโวยวายได้ จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายใหม่
   
เมื่อเป็นเช่นนี้ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 รถป้ายแดงนั้น จะจับปรับหากพบว่าวิ่งใช้ในเวลากลางคืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการตรวจสอบการจับปรับนั้น จะพิจารณาจากระยะเวลาในการออกรถ หากเป็นรถยนต์จะให้ระยะเวลาในการทำเรื่องจดทะเบียนและได้รับป้ายทะเบียนมาติด ต้องเรียบร้อยภายใน 45 วัน นับจากวันที่ที่ระบุในใบรับรถวันแรก ส่วนรถจักรยานยนต์ให้เวลา 60 วัน ทั้งนี้หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรค 1 ผู้ใดนำรถที่ยังไม่จดทะเบียนมาวิ่งในทาง จะมีความผิดตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งหากผู้ตรวจจับเป็นตำรวจจราจรตั้งด่านกวดขันวินัยจราจร ซึ่งพกใบขับขี่ก็จะออกใบสั่งแก่ผู้ขับขี่นำไปเสียค่าปรับ แต่ถ้าโชคร้ายกว่านั้น คือขับรถป้ายแดงไปเจอด่านสายตรวจในช่วงกลางคืน ที่ไม่มีใบสั่ง ตำรวจสายตรวจต้องทำการแจ้งข้อหา และส่งเรื่องให้ร้อยเวรดำเนินคดี ซึ่งมีขั้นตอนที่จะต้องส่งฟ้องศาล และให้ศาลตัดสินลงโทษต่อไป รวมทั้งอย่าใช้ป้ายแดงปลอมโดยเด็ดขาด ส่วนกรณีป้ายชำรุดสูญหาย ขอให้ติดต่อรับป้ายใหม่ให้ถูกต้อง ณ สำนักงานขนส่ง ที่รถจดทะเบียนไว้ ห้ามสั่งทำจากร้านรับทำแผ่นป้ายทั่วไปมาติดรถ หากตรวจพบจะมีโทษขั้นจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี ปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาท นอกจากนี้ ห้ามนำวัสดุอื่นใดมาติดบนป้ายทะเบียนทำให้มองไม่ชัดเจน หรือ ตกแต่งลวดลาย จะมีความผิดปรับไม่เกิน 2,000 บาท  เพราะนอกจากรถป้ายแดงจะเป็นรถที่ไม่จดทะเบียนถูกต้องและไม่ได้เสียภาษีประจำปีแล้ว หากเกิดโจรกรรมรถยนต์ โอกาสที่จะติดตามรถเจอจะเป็นได้ยาก


โดยกรมการขนส่งทางบก ได้ขอความร่วมมือไปยัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างเคร่งครัด เพื่อเร่งรัดการจัดเก็บภาษีรถและ ป้องกันปัญหาอาชญากรรม ซึ่งปัจจุบัน การจดทะเบียนรถใหม่ สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน เท่านั้น โดยจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายการเสียภาษี (ป้ายวงกลม) เพื่อนำไปติดที่รถทันที ในวันที่นำรถมาจดทะเบียน เพียงนำหลักฐานการได้มาของรถ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานการทำพ.ร.บ. และนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ณ กรมการขนส่งทางบกหรือ สำนักงานขนส่งจังหวัด ที่ประสงค์จดทะเบียนรถสำหรับผู้ที่รอจดทะเบียนรถเป็นหมายเลขทะเบียนสวย ที่กรมการขนส่งทางบกนำออกประมูล นำเงินรายได้เข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อรณรงค์ลดอุบัติเหตุนั้น สามารถหลีกเลี่ยง การใช้รถป้ายแดงได้ ด้วยการจดทะเบียนรถเป็นหมายเลขทะเบียนที่ออกให้ตามลำดับในปัจจุบันไปก่อน เมื่อประมูลเลขทะเบียนที่ต้องการได้แล้ว จึงมาดำเนินการขอแจ้งเปลี่ยนเป็นหมายเลขทะเบียนสวยในภายหลัง โดยเสียค่าดำเนินการเพียง 1,775 บาท เท่านั้นทั้งนี้ กรณีนำเลขทะเบียนสวยที่ได้จากการประมูลมาจดทะเบียนกับ รถใหม่ป้ายแดงในครั้งแรก จะเสียเฉพาะค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ จำนวน 200 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร หมายเลขโทรศัพท์ 0-2272-5493-5 Call Center 1584 หรือที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ


 ขับรถใหม่ป้ายแดงใครว่าไม่ผิดกฏหมาย ฉะนั้นเมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้วคุณก็ระวังการขับรถป้ายแดงให้ถูกกฎหมายด้วยคะ

1 ความคิดเห็น:

  1. ใช้รถป้ายเเดงในพื้นที่เเละขับในพื้นที่จำเป็นไหมที่จะต้องลงสมุดคู่มือ

    ตอบลบ